เมนู

ปัญจวัคควัณณนา


วินิจฉัยในกัมมวรรค

พึงทราบดังนี้ :-
ความแตกต่างกันแห่งกรรม 4 อย่าง ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้วในสมถขันธ-
กะแล. แม้ได้กล่าวแล้วก็จริง ถึงกระนั้น กรรมวินิจฉัยนี้ เมื่อได้กล่าวมา
ตั้งแต่ต้น ย่อมเป็นวินิจฉัยที่ชัดเจน, เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจักกล่าวข้อที่ควร
กล่าว ในกัมมวรรคนี้ จำเดิมแต่ต้นทีเดียว.
คำว่า จตฺตาริ นี้ เป็นคำบอกกำหนดจำนวนแห่งกรรมทั้งหลาย.
คำว่า กมฺมานิ เป็นคำชี้กรรมที่กำหนดไว้แล้ว.

[ความต่างแห่งกรรม 4]


กรรมที่ต้องยังสงฆ์ผู้ตั้งอยู่ในสีมาให้หมดจด นำฉันทะของภิกษุผู้ควร
ฉันทะมา สวดประกาศ 3 ครั้ง ทำตามอนุมัติของสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง ชื่อว่า
อปโลกนกรรม.
กรรมที่ต้องทำด้วยญัตติอย่างเดียว ตามอนุมัติของสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง
ตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล ชื่อว่าญัตติกรรม.
กรรมที่ต้องทำด้วยอนุสาวนา มีญัตติเป็นที่ 2 อย่างนี้ คือ ญัตติ 1
อนุสาวนา 1 ตามอนุมัติของสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง โดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล
ชื่อว่าญัตติทุติยกรรม.

กรรมที่ต้องทำด้วยอนุสาวนา 3 มีญัตติเป็นที่ 4 อย่างนี้ คือ ญัตติ 1
อนุสาวนา 3 ตามอนุมัติของสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง โดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล
ชื่อว่าญัตติจตุตถกรรม.
บรรดากรรมเหล่านั้น อปโลกนกรรม พึงทำเพียงอปโลกน์, ไม่
ต้องทำด้วยอำนาจญัตติกรรมเป็นต้น. อนึ่ง ญัตติกรรม พึงทำตั้งญัตติอย่าง
เดียว, ไม่ต้องทำด้วยอำนาจอปโลกนกรรมเป็นต้น.
ส่วนญัตติทุติยกรรม ที่ต้องอปโลกน์ทำก็มี ไม่ต้องอปโลกน์ทำก็มี.
ใน 2 อย่างนั้น กรรมหนัก 6 อย่างนี้ คือ สมมติสีมา ถอนสีมา ให้ผ้า-
กฐิน รื้อกฐิน แสดงที่สร้างกุฎี แสดงที่สร้างวิหาร ไม่ควรอปโลกน์ทำ; พึง
สวดญัตติทุติยกรรมวาจาทำเท่านั้น.
กรรมเบาเหล่านี้ คือ สมมติ 13 ที่เหลือ และสมมติมีการให้ถือ
เสนาสนะและให้มฤดกจีวรเป็นต้น ควรเพื่อทำทั้งอปโลกน์.
อาจารย์บางพวกกล่าวว่า "แต่ญัตติทุติยกรรมนั้น ไม่ควรทำด้วยอำ-
นาจญัตติกรรมและญัตติจตุตถกรรมแท้. เมื่อทำด้วยอำอาจญัตติจตุตถกรรม
ย่อมเป็นกรรมมั่นคงกว่า; เพราะเหตุนั่น ควรทำ." คำของพระอาจารย์พวกนั้น
ได้ถูกค้านแล้วเสียว่า "ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น ความสังกระแห่งกรรมย่อมมี เพราะ
เหตุนั้น จึงไม่ควรทำ."
ก็ถ้าว่า กรรมนั้นเสียโดยอักขระก็ดี เสียโดยบทก็ดี มีบทที่สวดไม่ชัด
ก็ดีไซร์, การที่สวดซ้ำ ๆ เพื่อชำระกรรมนั้นก็ควร. การสวดซ้ำ ๆ นี้ เป็น
ทัฬหีกรรมของกรรมที่ไม่กำเริบ, คงคืนเป็นกรรมในกรรมที่กำเริบ.

ญัตติจตุตถกรรม ต้องทำทั้งสวดญัตติและกรรมวาจา 3 ไม่พึงทำด้วย
อำนาจกรรมอื่น มีอปโลกนกรรมเป็นต้น
หลายบทว่า ปญฺจหากาเรหิ วิปชฺชนฺติ มีความว่า กรรม 4 นี้
ย่อมวิบัติโดยเหตุ 5 ประการ.

[กรรมวิบัติโดยวัตถุ]


ในข้อว่า กรรมที่ควรทำพร้อมหน้า สงฆ์ทำไม่พร้อมหน้า กรรมไม่
เป็นธรรม วิบัติโดยวัตถุ นี้ กรรมที่ควรทำพร้อมหน้าก็มี กรรมที่ควรทำ
ไม่พร้อมหน้าก็มี. ใน 2 อย่างนั้น ขึ้นชื่อว่ากรรมที่ควรทำไม่พร้อมหน้ามี 8
อย่าง คือ อุปสมบทด้วยทูต คว่ำบาตร หงายบาตร อุมมัตตกสมมติ ที่
สงฆ์พึงทำแก่ภิกษุบ้า เสขสมมติแก่สกุลพระเสขะ พรหมทัณฑ์แก่พระฉันน
ภิกษุ ปกาสนียกรรมให้แก่พระเทวทัตต์ อวันทิยกรรมที่ภิกษุณีสงฆ์พึงทำแก่ภิกษุ
ผู้แสดงอาการไม่น่าเลื่อมใส. กรรมทั้งปวงนั้น พึงทราบตามนัยที่ข้าพเจ้ากล่าว
แล้วในที่มานั้น ๆ แล. กรรมทั้ง 8 อย่างนี้ อันสงฆ์ทำแล้วไม่พร้อมหน้า
ย่อมเป็นอันทำด้วยดี ไม่กำเริบ.
กรรมทั้งปวงที่เหลือ ควรทำพร้อมหน้าเท่านั้น, คือ พึงทำให้อิงสัม-
มุขาวินัย 4 อย่างนี้ คือ ความพร้อมหน้าสงฆ์ ความพร้อมหน้าธรรม
ความพร้อมหน้าวินัย ความพร้อมหน้าบุคคล.
อันกรรมทั้งปวงที่ทำแล้วด้วยประการอย่างนั้น ย่อมเป็นอันทำดีแล้ว.
แต่กรรมเหล่านั้น ที่ไม่ทำอย่างนั้น ย่อมจัดเป็นกรรมวิบัติโดยวัตถุ เพราะ